|
ชื่อพระเครื่อง |
พระสมเด็จวัดเกศไชโย พิมพ์ ฐาน 9 ชั้น |
รายละเอียด |
พระสมเด็จวัดเกศไชโย พิมพ์ ฐาน 9 ชั้น
ตรวจวิเคราะห์ตามหลักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
ด้วยกล้องจุลทรรศน์ 800x
พบแคลไซต์เกิดผลึกหนา ตามธรรมชาติ ปรากฎการณ์เกิดตามธรรมชาติตามหลักธรณีวิทยา พระถึงยุค ยุคกลาง สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี อธิษฐานจิต (บันทึกตามภาพถ่ายแสดง)
เปิดโอกาส ผู้มีบุญวาสนาได้สืบทอด
พระสมเด็จวัดเกศไชโย พิมพ์ ฐาน 9 ชั้น สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )หาได้ยากยิ่งกว่าพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เรียกได้ว่าไม่พบก็ว่าได้"มีเพียงไม่กี่องค์ของสยามประเทศไทย"
ตามอายุประวัติการ สร้างอายุใกล้เคียงกับวัดระฆัง เอกลักษณ์ อกร่อง หูบายศรี ลักษณะทางเนื้อ สีขาว อมเหลือง การปรากฏมวลสารค่อนข้างมาก
ศิลปะยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น วัดเกศไชโยให้อยู่ในชุด เบญจภาคี เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )สร้างขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาที่ชื่อ เกศ ฐาน 9 ชั้นหมายถึง
มรรค 8 นิพพาน1
ด้านหลังองค์พระสมเด็จวัดเกศไชโย 9 ชั้น สังเกตุได้ว่า
ที่ด้านข้างนั้นจะมีการตกแต่งฝนให้สวยงาม ไม่มีรอยปริแตกเหมือนกับวัดระฆัง และ
ด้านหลัง มักพบรอยนิ้วมืออีกด้วย เมื่อกาลเวลาที่ผ่านไป... เนื้อพระที่ละเอียด
เมื่อมีการสัมผัส ก็จะเกิดการขึ้นมันจะยิ่งทำให้เนื้อพระดูนุ่มยิ่งขึ้น
พระสมเด็จ ๙ ชั้นวัดระฆัง (พิมพ์เกศไชโย) ปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็น
เนื้อพระค่อนข้างละเอียด ออกขาวอมเหลือง แห้ง หนึกนุ่ม
สภาพองค์พระสมบูรณ์มีมวลสารชัดเจน ตามประวัติสร้างที่วัดระฆังยุคแรกๆ
พิมพ์ทรงลักษณะเป็นชั้นๆ เหมือนพระสมเด็จที่จัดสร้างที่วัดเกศไชโย
ขนาดองค์พระจะยาวกว่าพิมพ์พระประธานวัดระฆัง ด้านหล้งเรียบ ยุบย่นตามสภาพธรรมชาติ ปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็น
ลักษณะของวัดเกศไชโย
1. พิมพ์จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีกรอบกระจกรอบๆ องค์พระ ขอบพระจะบางกว่าวัดระฆัง,บางขุนพรหม
2. องค์พระเป็นปางทรมานกาย ทุกขกริยา อกร่อง อกตัน หูบายศรี
3. อกร่องจะลึกถึงใหล่ อกตันจะลึกถึงอก
4. ฐานหรือชั้นจะมี 6 ชั้น 7 ชั้น 9 ชั้น
5. ซุ้มครอบแก้วจะกว้างกว่าวัดอื่นๆ
6. องค์ที่ไม่มีคราบกรุจะมีสีขาวอมเหลือง องค์ที่มีคราบกรุจะมีสีน้ำตาลอ่อน
7. เนื้อนิยมจะเป็นเนื้อหินเปลือกหอยคล้ายบางขุนพรหม
8. ด้านหลังพระจะอูมมีการตกแต่งขอบเรียบร้อย
9. วัดเกศไชโยมีการบรรจุกรุถึง 3 ครั้ง พระจึงออกมามีอายุต่างกัน บรรจุครั้งแรกกรุพัง บรรจุครั้งที่ 2 กรุพังอีก บรรจุครั้งที่ 3 ไม่พังจนถึงเปิดกรุ ครั้งแรกกับครั้งหลังพระจะมีวรรณะต่างกันมาก
พระสมเด็จวัดเกศไชโย พิมพ์ ฐาน ๙ ชั้น เนื้อมวลสารวัดระฆัง
และแบบพิมพ์พระสมเด็จพุทธศิลป์(พ.ศ. 2406-2407)
พระสมเด็จวัดเกศไชโยองค์นี้เนื้อพระเป็นมวลสารของวัดระฆัง แต่พิมพ์ทรงเป็นแบบพิมพ์นิยมวัดระฆัง.ฝากกรุวัดเกศไชโย....แบบพิมพ์ของหลวงวิจารย์เจียรนัย(เฮง)
พระสมเด็จเกศไชโย ****จึงเพิ่มส่วนผสม กล้วยหอมจันทน์ ,กล้วยน้ำว้า และเปลือกกล้วย เนื้อพระจึงออกมาเป็นสีเหลืองนวล
พ.ศ.2406-2407 สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)จึงสร้างพระพุทธรูปใหญ่ใหม่ และบรรจุพระสมเด็จจำนวน 84,000 องค์แแต่เนื่องจากการจัดสร้างจากเนื้องผงพระแตกร้าวซึ่งจัดสร้างจากผง พุทธคุณ 5 ชนิด และผงเกษรดอกไม้,ปูนขาว และข้าวสุก จึงเพิ่มส่วนผสม กล้วยหอมจันทน์ ,กล้วยน้ำว้า และเปลือกกล้วย เนื้อพระจึงออกมาเป็นสีเหลืองนวล
พระสมเด็จ พิมพ์ทุกข์กริยา วัดเกศไชโย พิมพ์นิยม 7 ชั้น เนื้อส่วนผสมของกล้วยหอมจันทน์ ,กล้วยน้ำว้า และเปลือกกล้วย.องค์นี้ จากภาพขยายปรากฎสีเหลืองของกล้วย และชิ้นเปลือกล้วย ตามร่องผิวพระที่แตก แบบโต้แย้งไม่ได้เลย มวลสารที่ปรากฎไม่ว่าจะเป็นผง พุทธคุณ 5 ชนิด และผงเกษรดอกไม้,ปูนขาว และข้าวสุก และกล้วยหอมจันทน์ ,กล้วยน้ำว้า และเปลือกกล้วย...ชัดเจนสวยงามจร้า
ใครรู้บ้างหนอ..พระสมเด็จบรรจุกรุมีถึง 3 ครั้ง
พ.ศ.2407 บรรจครั้งแรก ต่อมาฐานกรุแตก ชาวบ้านเอาไปบูชาจำนวนมาก สมเด็จโตนำพระสมเด็จไปบรรจุเพิ่ม คราวนี้ไม่แตก แต่เจาะกรุซะ ต่อมากรุพัง...สมเด็จโตบูรณะและบรรจะพระสมเด็จเพิ่ม..พระเหลือ..ก็นำไปบรรจุที่วัดโพธิ์เกรียบ วัดสะตือ พระ 3 สภาพ สภาพพระบรรจุกรุครั้งแรก พระแตกหักมากหลวงวิจารย์เจียรนัย (เฮง) ได้แนะนำให้ผสมกล้วย และน้ำมันตังอิ๊ว เนื้อปูนหอยดิบ และผสมน้ำมันตังอิ๊วประสารเนื้อพระ
วัดเกศไชโยเป็นอารามหลวงชั้นโท..ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 13 ตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง..ไม่ปรากฎว่าใครสร้าง..เหตุที่ได้ชื่อว่าวัดเกศไชโยนี้..ชาวบ้านเล่ากันว่าเจ้าประคุณสมเด็จเป็นผู้สร้างในที่ดินของโยมตา..ชื่อไชย..แล้วอุทิศส่วนกุศลให้โยมตา และมารดาชื่อเกศ..จึงตั้งชื่อวัดว่า "วัดเกศไชโย" แต่ชาวบ้านเรียกด้วยความเคยชินว่า "วัดไชโย"
พ.ศ. 2404 สมเด็จพุฒาจารย์โตมีความประสงค์สร้างพระสมเด็จเพื่อบรรจุในพระใหญ่วัดเกศไชโย แตได้พังทลายลงมาเสียก่อน
พ.ศ.2406-2407 สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)จึงสร้างพระพุทธรูปใหญ่ใหม่ และบรรจุพระสมเด็จจำนวน 84,000 องค์แแต่เนื่องจากการจัดสร้างจากเนื้องผงพระแตกร้าวซึ่งจัดสร้างจากผงพุทธคุณ 5 ชนิด และผงเกษรดอกไม้,ปูนขาว และข้าวสุก จึงเพิ่มส่วนผสม กล้วยหอมจันทน์ ,กล้วยน้ำว้า และเปลือกกล้วย เนื้อพระจึงออกมาเป็นสีเหลืองนวล และยังแตกร้าวแต่น้อยลงหลวงวิจารเจียรนัย(เฮง) ช่างหลวงในรัชกาลที่ 4 จึงถวายคำแนะนำให้ผสมสูตรน้ำมันตังอิ้วทำให้เนื้อพระไม่แตกจึงจัดสร้างตามจำนวนแต่เนื่องจากมวลสารไม่พอจึงบรรจุสมเด็จวัดระฆังลงไปด้วย
พระอุโบสถ..ได้รับการบูรณะใหม่จนเสร็จเรียบร้อยในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2437 ลักษณะเป็นทรงไทยโบราณ มีมุขลดต่อออกมาทางด้านหน้าพระวิหาร..มีช่อฟ้าหน้าบัน..เสาพระวิหารรับเชิงชาย..ด้านหน้ามีภาพเขียนภาพจิตกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ
พระปูนปั้นสมเด็จที่สร้างที่วัดเกศไชโย
พระสมเด็จกรุนี้ ออกจะปรากฎพิมพ์ค่อนข้างแปลกพิสดาร..จะปรากฎเอกลักษณ์ให้เห็น..เส้นนูนเล็ก ๆ และอกร่อง..เป็นการแสดงออกทางศิลปะ และอารมณ์อย่างลึกซึ้ง..หมายถึงพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยา..เป็นการเตือนใจให้ทุกคนมีความเพียร..มานะบากบั่น..มุ่งมั่น..เพื่อประสพความสำเร็จ..
พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็น 1 ใน 3 ตระกูลพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) โดยได้บรรจุไว้ในองค์พระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิฐฐานอยู่ภายในพระวิหารวัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร นั่นคือจะต้องมีลักษณะของ อกร่อง หูบายศรี มีขอบกระจก เกือบทุกพิมพ์ทรง วงการพระเครื่องในปัจจุบันให้ความนิยมเป็นอย่างสูงและจัดรวมพระสมเด็จวัดเกศ ไชโยให้อยู่ในชุด เบญจภาคี เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
วัดไชโยวรวิหารหรือวัดเกศไชโย ( ชื่อที่ปรากฏในพื้นที่คือ วัดเกศไชโย ) เป็นพระอารามหลวงชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เดิมทีเป็นวัดราษฏร์ สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาไม่มีประวัติแน่ชัดว่าใครสร้าง แต่มาปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) แห่งวัดระฆังโฆษิตารามได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้น เมื่อครั้งปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประมาณปี 2400-2405 ซึ่งขณะนั้นท่านยังดำรงสมณะศักดิ์เป็นพระเทพกวี
การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) มาสร้าง พระหลวงพ่อโต หรือที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ภายหลังว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ขึ้นไว้ที่นี่ ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงโยมมารดาซึ่งได้ร่วงลับไปแล้วและเป็นอนุสรณ์ สถานความผูกพันในช่วงชีวิตของท่าน เนื่องจากมารดาเคยพาท่านมาพักอยู่ที่ตำบลไชโยเมื่อตอนท่านยังเล็กๆ ซึ่งตามประวัตินั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ท่านมักสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์เกี่ยวกับชีวิตของท่านไว้ตามสถานที่ต่างๆ ไว้มากมาย
ความบันทึกของพระยาทิพโกษา ( สอน โลหะนันท์ ) ได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) เป็นผู้สร้างขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาที่ชื่อ เกศ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ทรงสร้างพระพิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น แล้วนำมาแจกรวมทั้งบรรจุกรุไว้ใน กรุวัดไชโยวิหาร ในคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดนี้ และประมาณการจากบันทึกต่างๆว่าน่าจะมีอายุการสร้างสมเด็จพิมพ์วัดเกศไชโย นั้นใกล้เคียงกับสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม
พระสมเด็จวักเกศไชโย จึงถือได้ว่าเป็นสมเด็จอีกตระกูลหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังษี ) ทั้งในด้านการปลุกเสก และบรรจุกรุ ส่วนผสมในการสร้างนั้นล้วนแล้วแต่เป็นของดีของวิเศษซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) นำมาประสมกันเป็นเนื้อพระนั้น ส่วนใหญ่ใช้สูตรเดียวกับสมเด็จวัดระฆังฯ และสมเด็จบางขุนพรหม ประกอบด้วยมวลสารหลักได้แก่ ปูนเปลือกหอย ผงวิเศษ ( ผงอิทธิเจ ผงพุทธคุณ ผงปถมัง ผงมหาราช และผงตรีนิสิงเห ) ข้าวสุก กล้วยป่า ดอกไม้แห้ง และน้ำมันตั้วอิ้ว และมวลสารอื่นๆอีกมาก
เนื้อพระสมเด็จ |
ราคาปัจจุบัน |
65,000.- |
จำนวนผู้เข้าชม |
81139 ครั้ง |
สถานะ |
เปิดให้บูชา |
|
โดย |
|
ชื่อร้าน |
ยังไม่เปิดร้านค้า
|
URL |
-
|
เบอร์โทรศัพท์ |
0970818934
|
ID LINE |
คนหม้ายไหร่
|
|
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
|
2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา / 465-1-36323-9
|
|
กำลังโหลดข้อมูล
|
หน้าแรกลงพระฟรี
|
|